วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

คณะผู้จัดทำ


คณะผู้จัดทำ


หมายเหตุ


หมายเหตุ


 บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาที่จะละเมิดลิขสิทธิ์บทความหรือคัดลอกของใคร แต่ทางคณะผู้จัดทำมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เนื้อหาในบทความของพวกท่านในการประกอบการศึกษาจริงๆ ขอขอบพระคุณและขออภัยใน ณ ที่นี้ด้วยครับ/ค่ะ

แหล่งอ้างอิง


แหล่งอ้างอิง









คำทักทาย


คำทักทาย


คำทักทายของประเทศลาว

อาหารจานเด็ดของประเทศลาว


อาหารจานเด็ดของประเทศลาว


1.ซุปไก่ เป็นอาหารยอดนิยมของลาว มีส่วนผสมสำคัญ ได้แก่ ตะไคร้ ใบสะระแหน่ กระเทียม หอมแดง รวมถึงรสชาติเปรี้ยวๆ เผ็ดๆ จากมะนาวและพริก รับประทานร้อนๆ กับข้าวเหนียว
2.สลัดหลวงพระบาง หน้าตาดูจะคล้ายกับสลัดผักน้ำ มีเพียงผักบางรายการที่เพิ่มเข้ามา และถั่วลิสงคั่วโรยตอนสุดท้าย ลักษณะของผักน้ำ ลำต้นขนาดเล็กยาว แต่อวบเพราะเลี้ยงอยู่ในแม่น้ำ เวลาเคี้ยวจะรู้สึกถึงความกรอบของผัก พบเห็นได้ตามตลาดเช้า แทบทุกร้านจะมีสูตรนี้

สลัดหลวงพระบาง

วัฒนธรรม


วัฒนธรรม


มีความคล้ายคลึงกับคนภาคอีสานของไทยเป็นอย่างมาก ยังมีคำกล่าวที่ว่า “ มีลาวอยู่แห่งใด มีมัดหมี่ แลลายจกอยู่ที่นั้น ” ในด้านดนตรี ลาวมีแคนเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ มีหมอขับ หมอลำ ลาวมีประเพณีทางพระพุทธศาสนาและอื่นๆ เช่น วันมาฆบูชา วันสงกรานต์ วันออกพรรษา บุญเข้าประดับดิน บุญเข้าฉลาก บุญส่วงเฮือ (แข่งเรือ) บุญธาตุหลวงเวียงจันทน์ ในเดือน 12 เป็นต้น
พุทธศาสนาแบบเถรวาท นับเป็นแบบแผนหลักของวัฒนธรรมลาว ซึ่งปรากฏให้เห็นทั่วประเทศ ทั้งในด้านภาษา และศิลปะ วรรณคดี ศิลปะการแสดง ฯลฯ สำหรับดนตรีลาวนั้นมี แคน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ วงดนตรีของลาวก็คือวงหมอลำ มีหมอลำ และหมอแคน ท่วงทำนองของการขับลำจะแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ทางภาคเหนือเรียกว่าขับ ภาคใต้จากบอลิคำไซลงไปเรียกว่าลำ เช่น ขับงึมเวียงจันทน์ ขับพวนเซียงขวง ลำสาละวันของแขวงสาละวัน ลำภูไท ลำตังหวาย ลำคอนสะหวัน ลำบ้านซอกของแขวงสะหวันนะเขต ขับโสม ลำสีพันดอนของแขวงจำปาสัก ลำมะหาไซของแขวงคำม่วน ขับทุ้มของแขวงหลวงพระบาง ขับลื้อของชาวลื้อ เป็นต้น
- การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของลาวคือผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น (ผ้าถุง)
- อาหารของคนลาว ลาวจะทานข้าวเหนียวเป็นหลัก อาหารที่เป็นเอกลักษณ์คือ แจ่ว ส้มตำ ไก่ย่าง ลาบ เป็นต้น
- อารยธรรมเก่าแก่ของลาวนั้น มีปรากฏจากหลักฐานด้านโบราณคดียุคหินที่ทุ่งไหหินในแขวงเชียงขวาง

ดอกไม้ประจำชาติ

ดอกไม้ประจำชาติ


ดอกไม้ประจำชาติประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างประเทศลาว คือ ดอกจำปาลาว (Dok Champa) คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ ดอกลีลาวดี หรือ ดอกลั่นทม โดยดอกจำปาลาวมักมีสีสันหลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเพียงสีขาวเท่านั้น เช่น สีชมพู สีเหลือง สีแดง หรือสีโทนอ่อนต่าง ๆ โดยดอกจำปาลาวนั้นเป็นตัวแทนของความสุขและความจริงใจ จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อประดับประดาในงานพิธีต่าง ๆ รวมทั้งใช้เป็นพวงมาลัยเพื่อรับแขกอีกด้วย

ดอกลั่นทม

การแบ่งเขตการปกครอง


การแบ่งเขตการปกครอง


ลาวแบ่งเป็น 16 แขวง ในหนึ่งแขวงจะมีหลาย เมือง ซึ่งจะมีหนึ่งเมืองเป็นเมืองหลวงเรียกว่า เมืองเอก และ 1 เขตปกครองพิเศษเรียกว่า "นครหลวง" ดังแสดงในตารางต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครองของประเทศลาว

แผนที่การแบ่งเขตการปกครองของประเทศลาว

ศาสนา


ศาสนา


ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ (ร้อยละ 60 ของชาวลาวทั้งหมด) ควบคู่ไปกับลัทธินับถือผีบรรพบุรุษของชนชาติส่วนน้อยในแถบภูเขาสูง ส่วนชาวลาวที่นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามมีจำนวนที่ค่อนข้างน้อยมาก โดยศาสนาคริสต์ส่วนมากจะมีผู้นับถือเป็นกลุ่มชาวเวียดนามอพยพและชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม ส่วนศาสนาอิสลามพบว่ามีการนับถือในหมู่ชนชาติส่วนน้อยจีนฮ่อที่อาศัยตามชายแดนด้านติดกับประเทศพม่า และมีชุมชนมุสลิมที่มีเชื้อสายเอเชียใต้ และจามในเวียงจันทน์

พระธาตุหลวง กรุงเวียงจันทน์ ศาสนสถานที่สำคัญที่สุด
ในประเทศลาว

ประชากร


ประชากร


จากสถิติในปี พ.ศ. 2548 (ตามข้อมูลกระทรวงการต่างประเทศของไทย) ประเทศลาวมีประชากรรวม 6,068,117 คน ประกอบด้วยชนชาติต่างๆ หลากหลายเชื้อชาติ ซึ่งในภาษาลาวจะเรียกรวมกันว่า "ประชาชนบรรดาเผ่า" สามารถจำแนกได้เป็น 68 ชนเผ่าโดยประมาณ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ตามถิ่นที่อยู่อาศัย ดังนี้
1. ลาวลุ่ม หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบ ส่วนใหญ่ได้แก่คนเชื้อชาติลาว ภูไท ไทดำ ไทลื้อ ฯลฯ ใช้ภาษาลาวหรือภาษาตระกูลภาษาไทเป็นภาษาหลัก ประชาชนกลุ่มนี้มีอยู่ร้อยละ 68 ของจำนวนประชากรทั้งหมดและอาศัยกระจายอยู่ทั่วประเทศ ถือว่าเป็นกลุ่มชาวลาวที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศ
2. ลาวเทิง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูง เช่น ชาวบรู มะกอง งวน ตะโอย ตาเลียง ละเม็ด ละเวน กะตัง ฯลฯ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ เช่น แขวงจำปาสัก แขวงเซกอง แขวงอัตตะปือ คิดเป็นร้อยละ 22 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
3. ลาวสูง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูง เช่น ชาวม้ง เย้า มูเซอ ผู้น้อย และชาวเขาเผ่าต่างๆ ส่วนมากอาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือของลาว เช่น แขวงหลวงพระบาง แขวงเชียงขวาง และตามแนวตะเข็บชายแดนภาคเหนือ ชาวลาวกลุ่มนี้คิดเป็นจำนวนร้อยละ 9 ของจำนวนประชากรทั้งหมด

เด็กหญิงชนเผ่ากะตู้ หนึ่งในกลุ่มชนชาติลาวเทิง
ของประเทศลาว

นอกจากนี้ยังมีชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม ชาวลาวเชื้อสายจีน รวมทั้งชาวต่างชาติอื่นๆ ในลาวคิดเป็นร้อยละ 2 ของจำนวนประชากรทั้งหมดด้วย

ภาษาลาว


ภาษา


ภาษาลาว เป็นภาษาราชการของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ในภาษากลุ่มไต และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ ภาษาอีสานของประเทศไทยซึ้งเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาลาว ระบบการเขียนในภาษาลาว จะใช้อักษรลาว ซึ่งเป็นระบบอักษรสระประกอบ (ระบบการเขียนที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์แทนพยัญชนะและตามด้วยสระที่จะอยู่ด้านหน้า หลัง บน ล่าง ของพยัญชนะ) และสัมพันธ์ ใกล้ชิดกับ อักษรไทย

เมืองหลวงของประเทศลาว


เมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว


เวียงจันทน์ เป็นเมืองหลวงของประเทศลาว อยู่ในลุ่มแม่น้ำโขง ในพิกัด 17°58' เหนือ, 102°36' ตะวันออก (17.9667, 102.6) ประชากรในตัวเมืองมีประมาณ 200,000 คน (ค.ศ. 2005) แต่ประชากรทั้งหมด ที่อาศัยในกำแพงนครเวียงจันทน์ เชื่อว่ามีอยู่ถึงกว่า 730,000 คน

ธงชาติประเทศลาว


ธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว


ธงชาติประเทศลาว

คำว่า ลาว ในภาษาอังกฤษ


คำว่า ลาว ในภาษาอังกฤษ


ในภาษาอังกฤษ คำว่าลาว ที่หมายถึงประเทศสะกดว่า "Laos" และ ลาวที่หมายถึงคนลาว และภาษาลาวใช้ "Lao" ในบางครั้งจะเห็นมีการใช้คำว่า "Laotian" แทนเนื่องจากป้องกันการสับสนกับเชื้อชาติลาว ที่สะกดว่า Ethnic Lao

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ลาว หรือชื่ออย่างเป็นทางการ คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Laos People’s Democratic Republic) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง